หลังจากดำเนินธุรกิจมาช่วงเวลาหนึ่งแล้ว การระดมทุนเป็นปัจจัยสำคัญที่ 𝐒𝐭𝐚𝐫𝐭𝐮𝐩𝐬 และผู้ประกอบการต่างๆ ต้องศึกษาเพื่อเตรียมการ คำถามที่เกิดขึ้นคือ ทางเลือกในการระดมทุนของบริษัทเล็กเช่น 𝐒𝐭𝐚𝐫𝐭𝐮𝐩𝐬 จะมีอะไรบ้าง และแต่ละรูปแบบของแหล่งทุน มีข้อดี ข้อเสีย ข้อจำกัดที่จะกระทบกับการดำเนินธุรกิจของ 𝐒𝐭𝐚𝐫𝐭𝐮𝐩𝐬 ยังไงบ้าง สุดท้ายถ้าจะไประดมทุนด้วยแต่ละวิธีการดังกล่าว ต้องเตรียมตัวกันยังไง?
มาหาคำตอบเกี่ยวกับทางเลือกการระดมทุนทั้งในแง่ของ การระดมทุนด้วยเงินกู้ (𝐃𝐞𝐛𝐭 𝐅𝐢𝐧𝐚𝐧𝐜𝐢𝐧𝐠) ทั้งแบบดั้งเดิม คือ การกู้เงินจากสถาบันการเงิน หรือ 𝐏𝟐𝐏 𝐋𝐞𝐧𝐝𝐢𝐧𝐠 𝐏𝐥𝐚𝐭𝐟𝐨𝐫𝐦 การระดมทุนด้วยส่วนทุน (𝐄𝐪𝐮𝐢𝐭𝐲 𝐅𝐢𝐧𝐚𝐧𝐜𝐢𝐧𝐠) ด้วยการหาผู้ร่วมทุนใหม่ การลงทุนโดย 𝐕𝐞𝐧𝐭𝐮𝐫𝐞 𝐂𝐚𝐩𝐢𝐭𝐚𝐥 / 𝐀𝐧𝐠𝐞𝐥 𝐈𝐧𝐯𝐞𝐬𝐭𝐨𝐫 หรือการเตรียมตัวไป 𝐈𝐏𝐎 และสุดท้าย ทางเลือกการระดมทุนด้วยรูปแบบใหม่ (𝐀𝐥𝐭𝐞𝐫𝐧𝐚𝐭𝐢𝐯𝐞 𝐅𝐢𝐧𝐚𝐧𝐜𝐢𝐧𝐠) เช่น 𝐈𝐂𝐎 / 𝐂𝐫𝐨𝐰𝐝𝐟𝐮𝐧𝐝𝐢𝐧𝐠 เข้าใจถึงข้อดี ข้อเสีย ข้อจำกัด จังหวะเวลาในการเลือกการระดมทุนแต่ละ ส่วนอย่างเหมาะสม และเข้าใจถึงกรอบกฎหมายที่ผู้ประกอบการต้องให้ความสนใจและปฏิบัติตาม เมื่อถึงเวลาต้องหาแหล่งทุน ผู้ประกอบการจะได้มีอาวุธและเครื่องมือเตรียมพร้อม
[Speaker]
คุณรับขวัญ ชลดำรงค์กุล (ขวัญ) ทนายความและเนติบัณฑิตไทย ที่มีประสบการณ์การทำงานด้านกฎหมาย การวางแผน การให้คำแนะนำ กลยุทธ์ธุรกิจทางด้านกฎหมาย และการร่างสัญญาในประเทศไทย ระหว่างประเทศ และภายในภูมิภาคลุ่มแม่น้ำโขง (CLMVT) มามากกว่า 12 ปี
คุณรับขวัญ ยังได้มีโอกาสทำงานเป็นที่ปรึกษาของโครงการพัฒนาของ ASEAN Development Bank ที่มีส่วนในการศึกษาการสร้างกรอบกฎหมายให้ส่งเสริมธุรกิจเทคโนโลยี โดยเฉพาะ FinTech ในภูมิภาค ด้วยการใช้มุมมองนักกฎหมายที่เข้าใจธุรกิจ และในปัจจุบันนอกจาก Law Firm ที่เปิดและดำเนินการที่ สปป ลาวมา 3 ปีแล้ว
คุณรับขวัญเปิดบริษัทที่ปรึกษากฎหมายในนาม LawXTech เพื่อให้บริการ ให้คำปรึกษา การวางแผนกลยุทธ์ การร่างสัญญาและเอกสารทางด้านกฎหมาย การขอใบอนุญาตสำหรับการประกอบกิจการทางด้าน FinTech ทั้ง ศูนย์ซื้อขายสินทรัพย์ดิจิทัล P2P Lending Platform และ Crowdfunding ในประเทศไทย และเป็นนักกฎหมายที่หาโอกาสพัฒนาวงการกฎหมายโดยใช้เทคโนโลยีให้มีประโยชน์สูงสุด